THNIC Academy จัดแข่งขัน “GitHub Pull Request Hackathon: .ไทย Universal Acceptance”
UA GitHub Pull Request Hackathon จัดในรูปแบบ Virtual Hackathon มีระยะเวลาการแข่งขัน 7 วัน เพื่อแก้ไขโปรเจคที่อยู่ใน GitHub ให้เป็น UA-Ready และเปิด Pull Request เพื่อแจ้งเจ้าของโปรเจค github
Universal Acceptance (UA) คือการที่แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ต่าง ๆ ยอมให้เราใส่ชื่อโดเมนและชื่ออีเมลที่ถูกต้องตามกฎการตั้งชื่อเป็นภาษาใดก็ได้ และยังรวมไปถึงการตรวจสอบ, การประมวลผล, การจัดเก็บ และการแสดงชื่อนั้น อย่างถูกต้องด้วย
"เปลี่ยนโลกของ Web และ Application ⠀⠀ไปกับ UA-Readiness"
ประกาศผลการแข่งขัน
รางวัลที่ 1
- kiznick
เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ Ergotrend รุ่น Ergo-X Black
รางวัลที่ 2
- mmc001
โต๊ะปรับระดับไฟฟ้า Kiosk
รุ่น AL-160T(s)
รางวัลที่ 3
- Nananapatt0
- nongdark46
- 6110400106
- nopash
- 6110402818
Razer BlackWidow V3 Mechanical Keyboard
กรรมการ
วรัทธน์ วงศ์มณีกิจ
Chief Product Officer
WISESIGHT (THAILAND) CO., LTD.
สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน
• Technical Coach และ Software Craftsman, บจก.สยามชำนาญกิจ
• เจ้าของและคอลัมนิสต์ TECH BLOG, SOMKIAT.CC
จิรวัฒน์ กรัณย์วิทยาการ
• Tech Evangelist - LINE Thailand
• Google Developers Experts in Firebase
ความคิดเห็นกรรมการ
1. ได้เห็นไอเดียการเขียน Regular Expression ที่หลากหลายทั้งแบบสั้นและยาวจากนักพัฒนาชาวไทย
2. ผู้ที่ชนะมีการวางแผนที่ดี จากการเลือก PR กับ Repo ที่มี stars เยอะๆ ทำให้คะแนนเพิ่มแบบทวีคูณทิ้งขาดคู่แข่ง
3. PR ที่ถูกเปิดในการแข่งขันครั้งนี้ มีตั้งแต่กับ Repo เล็กๆ จนไปถึง Repo ใหญ่ระดับโลก
4. บาง PR สามารถผ่าน test case เบื้องต้นไปได้ แต่ยังไม่ flexible มากพอสำหรับ test case อื่นๆ เช่นการเขียน RegEx ที่ระบุค่า max {2,20} ทั้งที่อาจมีชื่อที่ยาวกว่า 20 characters ได้ ดังนั้นควรเป็น {2,}
5. การเขียน RegEx ให้ครอบคลุมภาษาไทย เราเจอทั้งแบบ \u0E00-\u0E7F และ ก-๛
6. RegEx ที่ครอบคลุมพยัญชนะและสระทุกตัวในภาษาไทยคือ ก-๛ (หลายคนคิดว่าจบที่ ๙)
7. การมาตรวจและตัดสินการแข่งขันในครั้งนี้ กรรมการเองก็ได้ความรู้กลับไปเช่นกัน
สมัครเข้าร่วม Hackathon
สมัครแข่งขันได้ที่
คุณสมบัติผู้สมัคร
โจทย์/กติกาการแข่งขัน
- 1. ผู้เข้าร่วมแข่งขันเลือก Repo ใน GitHub ที่มีการใช้ชื่อโดเมนหรือชื่ออีเมล โดย Repo นั้นจะต้องถูกสร้างมาก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2564
- 2. การแก้ไขต้องทำให้ Repo นั้นเป็น UA-Ready สามารถรับ ตรวจสอบ ประมวลผล จัดเก็บ หรือ แสดงผลชื่อโดเมนและชื่ออีเมล ในภาษาไทย และ new gTLD ได้อย่างถูกต้อง
- 3. คณะกรรมการจะตรวจสอบการแก้ไข Repo โดยอ้างอิงรายชื่อโดเมนและอีเมลที่กำหนดใน Use Case และ Data สำหรับการทดสอบ .ไทย UA Readiness
-
4. หลังจากทดสอบแล้ว ต้องเปิด Pull Request และ ส่งหมายเลข Pull Request และ ไฟล์ผลการทดสอบ หรือ Unit Test Report ผ่าน
ฟอร์มส่งหมายเลขคำขอ - 5. หาก Pull Request นั้นนำไปสู่การ Merge Pull Request โดย Repo Maintainers ให้ส่งหมายเลขการ Merge ผ่านฟอร์มส่งหมายเลขคำขอ อีกครั้งโดยจะคิดคะแนนเฉพาะจาก Merge Pull Request
- 6. คะแนนของแต่ละ Request จะคำนวนจาก Star ของ Repo ที่ส่ง Pull Request x 1 แต่ถ้า Pull Request นั้นได้รับการ Merge คะแนนจะเป็น Star ของ Repo ที่ส่ง Pull Request x 5
- 7. ผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด และผ่านการพิจารณา จะได้รับรางวัล และประกาศนียบัตร
- 8. ผลการตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
FAQ
1.UA GitHub Hackathon คืออะไร
UA GitHub Pull Request Hackathon คือ Virtual Hackathon เป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อแก้ไข Repo ใน GitHub ให้เป็น UA-Ready และเปิด Pull Request คะแนนรวมในการแข่งขันจะคำนวนจากจำนวน Pull Request และ จำนวนการ Merge Pull Request รวมทั้งความสำคัญของ Repo ที่เลือกมาแก้ไข
2. เลือก Repo อย่างไร
ต้องเป็น Repo ที่มีการใช้ชื่อโดเมนหรือชื่ออีเมล โดย Repo นั้นจะต้องถูกสร้างมาก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เช่น
- thx/RAP
- zhisheng17/flink-learning
- jeremylong/DependencyCheck
- renrenio/renren-security
- adamfisk/LittleProxy
หรือศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับ UA-Readiness of Open Source Code Pilot ได้ที่ UASG033
3.กิจกรรมจัดขึ้นที่ไหน
กิจกรรมออนไลน์ สามารถเข้าร่วมแข่งขันจากที่ใดก็ได้ ที่สามารถเข้าใช้ GitHub ได้
4.เริ่มกิจกรรมเมื่อไหร่
Hackathon จะเริ่มเวลา 12:01 น.(เที่ยงคืน) วันที่ 9 กันยายน
ถึงเวลา 23:59 น. วันที่ 15 กันยายน 2564
5.มีค่าใช้จ่ายหรือไม่
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม UA GitHub Hackathon
6.สามารถส่งงานเป็นทีมได้หรือไม่
ต้องส่งเป็นบุคคลเท่านั้น
7.ทำงานเป็นทีมได้ หรือทำร่วมกับผู้อื่นได้หรือไม่
สามารถงานทำร่วมกับผู้อื่นได้ และช่วยเหลือกันได้ แต่จะต้องส่งงานเป็นบุคคลเท่านั้น
8.สามารถส่ง Pull Request ได้กี่คำขอ
ไม่มีกำหนดจำนวนคำขอสูงสุด แต่ผู้เข้าร่วม Hackathon จะได้รับของที่ระลึก คนละ 1 ชิ้น เท่านั้น
9.สามารถส่ง Pull Request จากการแก้ไข Repo ของตัวเองได้หรือไม่
การส่งคำขอต้องมาจากการแก้ไข Repo ของผู้อื่น ที่มีอยู่ใน GitHub ก่อน วันที่ 20 สิงหาคม 2564
10.สามารถส่ง Pull Request จากหน่วยงานได้หรือไม่
การส่งคำขอจะต้องมาจากบัญชีของผู้เข้าร่วม Hackathon เท่านั้น
11.ถ้ามีข้อสงสัยจะสอบถามได้ที่ใด
ถ้ามีข้อสงสัยทางด้านเทคนิค ติดต่อ https://github.community/ เพื่อสอบถามได้ หรือติดต่อ https://uasg.tech/ community
12.ใช้ภาษาอะไรได้บ้าง
สามารถใช้ภาษาใดก็ได้ที่ต้องการ
13.ธีมของ Hackathon คืออะไร
Hackathon นี้จัดเพื่อส่งเสริมการปรับปรุง code ให้รองรับ Internationalized Domain Name และ new gTLD เช่น คน.ไทย, uasg.tech เป็นต้น และ Internationalized Email Address เช่น สมชาย@คน.ไทย เป็นต้น โดยเฉพาะภาษาไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Universal Acceptance. ดังนั้นธีมของ Hackathon คือ .ไทย Universal Acceptance
14.ถ้ามีการเพิ่ม Pull Request อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ในระหว่าง Hackathon จะเป็นอย่างไร
ผู้เข้าร่วม Hackathon จะต้องส่งหมายเลข Pull Request ที่จะให้พิจารณาเข้าระบบบันทึกคำขอที่ทางผู้จัดจะจัดไว้ให้ จึงจะไม่กระทบต่อ Pull Request อื่นของท่าน
15.มีเงื่อนไขของคำขออะไรบ้าง
คำขอ Pull Request ที่สมบูรณ์จะต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้
- เป็น public และ open sourced
- สร้างระหว่างช่วงเวลาการแข่งขัน
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันเป็นเจ้าของคำขอ
- สอดคล้องกับธีมของ Hackathon คือ .ไทย Universal Acceptance
- คะแนนจะนับเฉพาะ 1 Pull request ต่อ 1 Repo
16.พนักงานมูลนิธิ THNIC และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าร่วมได้หรือไม่
พนักงานของ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย, บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด, บริษัท บีเคนิกซ์ จำกัด, บริษัท ไทย เนม เซิฟเวอร์ จำกัด และ บริษัท เน็ตถึงบ้าน (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด รวมถึงสมาชิกครอบครัวไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมนี้
17.ผู้ได้รับรางวัลต้องเสียภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย เป็นผู้รับผิดชอบชำระเงินค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับผู้ได้รับของรางวัลที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000.- บาทขึ้นไป โดยจะจัดส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ทางไปรษณีย์
18.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้จัดงานได้ช่องทางไหน
มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย
อีเมล: กิจกรรม@ทีเอชนิค.องค์กร.ไทย, event@thnic.or.th
THNIC Facebook Page
RECENT POST
- .th DNSSEC Status Report พฤศจิกายน 22, 2024
- THNIC Academy จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Computational Thinking Workshop สำหรับครูมัธยมศึกษา จังหวัดสุรินทร์ พฤศจิกายน 22, 2024
- รวมข่าวทีเอชนิคประกาศผลและมอบรางวัลการประกวดเว็บครู.ไทย ปี 2567 สร้างชุมชนครูออนไลน์เสริมการเรียนรู้ยุคดิจิทัล พฤศจิกายน 13, 2024
- THNIC Academy จัดอบรม “ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับช่างเทคนิค” พฤศจิกายน 7, 2024
- ทีเอชนิคประกาศผลและมอบรางวัลการประกวดเว็บครู.ไทย ปี 2567 สร้างชุมชนครูออนไลน์เสริมการเรียนรู้ยุคดิจิทัล พฤศจิกายน 7, 2024