นโยบายการให้บริการชื่อโดเมน .th

on กรกฎาคม 20, 2012        by Naritcha

[ English Version ]

** THNIC ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมและบังคับใช้นโยบายใหม่ย้อนหลัง

ประเภทของการจดชื่อโดเมน : ใครๆก็สามารถขอจดทะเบียนชื่อโดเมนลำดับที่สามภายใต้ .th ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ THNIC เพื่อนำไปใช้งานได้

ผู้ถือครองชื่อโดเมน : ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะต้องมีผู้ถือครอง ซึ่งหมายถึง “ตัวแทนขององค์กร” (Organizational contact) หรือ “ผู้ดูแลด้านการบริหาร” (Administrative contact)

ก่อนที่บุคคลใดจะส่งใบสมัคร : ผู้นั้นจะต้อง ทำการตรวจสอบว่า มีเนมเซิร์ฟเวอร์อย่างน้อยสองตัว ที่ได้รับการติดตั้งข้อมูลของโดเมนที่ต้องการขอจดทะเบียนชื่อ และทำงานได้ถูกต้องก่อนส่งใบสมัคร มิฉะนั้นกระบวนการในการจดทะเบียนจะไม่ได้รับการดำเนินการต่อไป

ค่าธรรมเนียมและใบเสร็จรับเงิน : ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะมีค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน และค่าธรรมเนียมรายปี THNIC จะส่งใบเรียกเก็บเงินไปยังผู้ที่เป็นตัวแทนติดต่อตามที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มการสมัคร

การจัดการลำดับของคำร้อง : THNIC ถือหลักปฏิบัติต่อคำร้องทุกรายด้วยหลัก คือ ผู้ที่ส่งใบแบบฟอร์มคำร้องมาก่อนจะได้รับการบริการก่อน ผู้ส่งคำร้องจะเป็นผู้รับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อความถูกต้องของข้อมูล ดังนั้นผู้ส่งคำร้องจะต้องทำการตรวจสอบทุกข้อความที่ถูกกรอกลงในแบบฟอร์ม

การขอเปลี่ยนหรือลบชื่อโดเมน ให้ใช้กระบวนการเดียวกับการจดทะเบียนใหม่ เว้นแต่ในบางสถานการณ์ หรือคำร้องพิเศษ ที่ร้องขอจากผู้จดทะเบียน

ผู้ถือครองโดเมนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดส่งคำร้อง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นต่อ ชื่อโดเมนที่ถือครอง เช่น การเปลี่ยนเนมเซิร์ฟเวอร์ การเปลี่ยนผู้ดูแล หรือ การเปลี่ยนสถานที่ติตต่อ เป็นต้น

ขั้นตอนการจดทะเบียน : โดยปกติ THNIC จะใช้เวลา 3 วันทำการ ในการจดทะเบียน สำหรับแบบฟอร์มการขอจดทะเบียนที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องตามกฏการจดทะเบียน

การยกเลิกการจดทะเบียน : THNIC สามารถจะลบชื่อโดเมนภายใต้ .th ได้เมื่อ

  1. เป็นคำร้องขอจากผู้ถือครองชื่อโดเมน โดยผู้ถือครองชื่อโดเมนที่ต้องการลบชื่อโดเมน สามารถส่งคำร้องมาได้โดยใช้แบบฟอร์มของ THNIC more
  2. ผู้ถือครองชื่อโดเมน ไม่ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน หรือค่าธรรมเนียมรายปีภายใน 30 วันนับแต่วันถึงกำหนดชำระ
  3. การจดทะเบียนใด ๆ สามารถถูกเพิกถอนได้ ด้วยคำสั่งจากศาล

ชื่อโดเมนที่ถูกลบชื่อจะถูกเปิดให้กับ ผู้ที่ต้องการ โดยผู้ต้องการสามารถส่งคำร้องขอได้ทันทีหลังการลบชื่อนั้น

ความรับผิดชอบต่อโดเมน : ผู้ที่ขอจดทะเบียนชื่อโดเมน จะต้องรับผิดชอบในทุกกรณีในฐานะที่เป็นผู้ทรงสิทธิ์ต่อชื่อนั้น การส่งคำขอจดทะเบียนชื่อโดเมนถือเป็นการรับรองต่อ THNIC ว่าผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิทั้งมวลที่จะใช้ชื่อนั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้ขอจะต้องแน่ใจว่า เขา/เธอ ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องในฟอร์มการสมัคร และจะถือสิทธิทั้งมวลที่จะใช้ชื่อนี้ดังที่แสดงไว้ในแบบฟอร์ม ผู้ทรงสิทธิจะกัน THNIC ออกจากความเสียหายและค่าใช้จ่ายใด ๆ อันเกิดจากการฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งเป็นผลจากการใช้ชื่อโดเมนของผู้ทรงสิทธิ ดังนั้นถือว่า THNIC ไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ในการพิสูจน์ และยืนยันการใช้สิทธิในชื่อโดเมน

การโอนชื่อโดเมน : โดเมนเนมควรจะถูกใช้โดยผู้ถือครอง หรือบุคคลใด ๆ ที่อ้างไว้ในใบสมัครเท่านั้น THNIC จะไม่โอน หรือให้คำอนุญาตบุคคลใด ๆ เพื่อโอนโดเมนเนม และจะไม่รับผิดชอบต่อการโอนโดเมนเนมโดยสิ้นเชิง

การแก้ไขข้อขัดแย้ง : THNIC จะไม่เป็นตัวกลางในข้อขัดแย้งใด ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างผู้ถือครองโดเมนเนม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สมัครขอลงทะเบียน โดเมนเนมแต่ละราย ในการสืบค้นในระบบลงทะเบียนของ THNIC ก่อนที่จะเลือกโดเมนเนม และ THNIC จะไม่รับผิดชอบในชื่อที่ถูกเลือกโดยผู้สมัครแต่ละราย หากมีการพบภายหลังว่า มีความไม่เหมาะสมจากบุคคลอื่น ๆ อย่างไรก็ตามหากมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น ระหว่างกระบวนการลงทะเบียน THNIC จะหยุดกระบวนการไว้ก่อนจนกระทั่งข้อขัดแย้งนั้น ๆ สิ้นสุดลง โดยต้องมีการลงชื่อ ในข้อตกลงทางกฎหมาย เป็นลายลักษณ์อักษร จากคู่กรณีทั้งสองฝ่าย รวมทั้งจากศาล และได้ส่งมาถึง THNIC เรียบร้อย

พันธะของ THNIC : THNIC ไม่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย และในการปฏิบัติงาน ต่อความเสียหายในการใช้งาน การขัดข้องในการดำเนินธุรกิจ หรือการณ์ใด ๆ โดยทางอ้อม ทางพิเศษ โดยบังเอิญ หรือเป็นผลที่สืบเนื่อง (รวมถึงการสูญเสียกำไรที่พึงได้) ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำในรูปแบบใดทั้งในการทำสัญญา การละเมิด (รวมถึงการกระทำโดยประมาท) หรืออื่นใดก็ตาม แม้ว่า THNIC จะได้รับคำแนะนำ ให้ทราบถึงความเป็นไปได้ของความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นนั้นก็ตาม

THNIC ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่ ดังนี้

.co.th สำหรับองค์กรธุรกิจในประเทศไทย
ผู้สมัครขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้ จะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือบริษัทต่างประเทศที่มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย และตัวแทนนั้น จะต้องจดทะเบียนในประเทศไทย และได้รับการโอนสิทธิ ในการจดทะเบียนชื่อโดเมนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อย more |

  • ตัวอย่างเอกสาร PDF
  • ตัวอย่างใบ ภพ01 PDF (ใช้สำหรับยืนยันชื่อภาษาอังกฤษของบริษัท และต้องมีการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
  • ตัวอย่างใบ ภพ09 PDF (ใช้สำหรับแสดงการเปลี่ยนแปลงชื่อของบริษัทเท่านั้น)
  • ตัวอย่างใบ ภพ20 PDF
  • ตัวอย่างหนังสือบริคณสนธิ PDF (ใช้สำหรับยืนยันชื่อภาษาอังกฤษของบริษัท และต้องมีการเซ็นต์รับรองจากเจ้าหน้าที่)
  • ตัวอย่างหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า PDF

.in.th สำหรับหน่วยงานทุกประเภท และบุคคลทั่วไป (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) more |

  • ตัวอย่างเอกสาร PDF (สำหรับบุคคลทั่วไป)

.ac.th สำหรับสถาบันการศึกษา
ผู้สมัครขอจดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้หมวดหมู่นี้ จะต้องเป็นสถาบันการศึกษาที่จดทะเบียนในประเทศไทย

  • ตัวอย่างเอกสาร PDF
  •  ตัวอย่างใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน PDF

.go.th สำหรับการใช้ของภาครัฐบาล
เช่น กระทรวงหรือหน่วยงานรัฐบาล ผู้สมัครขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย (มติการประชุมคณะรัฐมนตรี)

  • ตัวอย่างเอกสาร PDF(เอกสารออกโดย CIO)
  • ตัวอย่างเอกสาร PDF(เอกสารจากหน่วยงานถึง CIO)

.net.th สำหรับนิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 แบบ ตาม พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544

  • ตัวอย่างเอกสาร PDF

.or.th สำหรับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร

  • ตัวอย่างเอกสาร PDF

.mi.th สำหรับหน่วยงานทางทหาร

  • ตัวอย่างเอกสาร PDF

ภาษาไทย .th
สำหรับผู้ถือครองชื่อโดเมนภาษาอังกฤษใด ๆ ภายใต้ .th อยู่ก่อนแล้วเท่านั้น และชื่อโดเมนภาษาอังกฤษ 1 ชื่อ จะสามารถใช้อ้างอิงเพื่อจดทะเบียนชื่อโดเมนภาษาไทยได้ 1 ชื่อเท่านั้น more


การตั้งชื่อโดเมน : ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะต้องประกอบด้วยอักษรหรือตัวเลข (a-z, 0-9) อย่างน้อย 2 ตัว แต่ไม่เกิน 24 ตัว ชื่อโดเมนสามารถมีตัวอักษรพิเศษ คือ ยัติภังค์ (เครื่องหมายขีดสั้น ๆ ที่ใช้เชื่อมคำผสมหรืออื่น ๆ (-)) แต่ต้องไม่ใช้ในตอนเริ่มต้นหรือลงท้ายของชื่อ นอกจากนี้ชื่อที่เลือกนั้น จะต้องเหมือนกับชื่อเต็ม หรือชื่อย่อที่ใช้จดทะเบียนองค์กรมากที่สุด
* ดูคำสงวนและคำเฉพาะต่าง ๆ http://reserv.thnic.co.th/

จำนวนชื่อโดเมน : แต่ละองค์กรสามารถที่จะขอจดทะเบียนชื่อโดเมนได้เพียง 1 ชื่อจากทุกหมวดหมู่ที่ให้บริการนั้น

การแจ้งข้อมูลเท็จ : THNIC ถือเป็นความผิดในเรื่องการแจ้งข้อมูลเท็จในการขอจดทะเบียนชื่อโดเมน และหาก THNIC ทราบเรื่องดังกล่าว THNIC สงวนสิทธิ์ในการระงับ หรือยกเลิกชื่อโดเมนนั้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ถือครองชื่อโดเมนทราบล่วงหน้า และจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมใดๆ แก่ผู้ถือครองชื่อโดเมนนั้น

ข้อมูลบน WHOIS : THNIC บรรจุข้อมูลของชื่อโดเมนที่ได้รับการจดทะเบียนทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูล WHOIS ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถสืบค้นได้โดยคำสั่ง whois (who-is) จากเชลล์แอคเคาท์ใด ๆ หรือจากเว็บเพจ whois ของ THNIC ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการรู้ถึงผู้ที่ใช้ชื่อโดเมน “thnic.co.th” ก็พิมพ์ “whois -h whois.thnic.co.th thnic.co.th” ที่พร้อมพ์ของเชลล์แอคเคาท์ของผู้ใช้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นชื่อเต็มของผู้ถือครองชื่อโดเมน (ผู้บริหารชื่อโดเมน) ผู้ดูแลฝ่ายเทคนิค และผู้ติดต่อสำหรับการเก็บเงิน (billing contact) รวมทั้งชื่อโฮสต์ (เนมเซิร์ฟเวอร์) ที่ให้บริการเนมเซอร์วิสแก่ชื่อโดเมนนั้น

ความเป็นส่วนตัว : THNIC ถือสิทธิในการเปิดเผยข้อมูลในฐานข้อมูล WHOIS แก่สาธารณชน ทั้งในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร และ จากการเรียกดูด้วยฟอร์มออนไลน์

การป้องกันเมล์ขยะ : การ ส่งเมล์ขยะถือเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ THNIC สงวนสิทธิในการเพิกถอน การจดทะเบียนของโดเมนใด ๆ ที่พบว่ามีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ถูกกฎหมาย รวมทั้งใช้โจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งอีเมล์ขยะที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การพิจารณานี้ ไม่นับกรณีที่เกิดขึ้นจากผู้ใช้ลงแอดเดรสอีเมล์ เพื่อการตอบกลับจำนวนมาก อันเกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้งานของเจ้าของอีเมล์

THNIC Facebook Page

Member of

โครงการของมูลนิธิ