บทความ

ข้อพิพาทโดเมน (Domain Name Dispute)

on ธันวาคม 9, 2019        by Administrator

ความเป็นมาของปัญหา

ชื่อโดเมนเปรียบเสมือนพาหนะที่นำพาผู้คนเข้า สู่แหล่งข้อมูลต่างๆซึ่งกระจายอยู่อย่างมหาศาลในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่าง ตรงเป้าหมาย ด้วยสภาพการดำเนินงานของระบบโดเมน ทำให้ในขณะที่ John Smith อาจจะมีเป็นสิบคนหรือเป็นร้อยคน  หรือชื่อเครื่องหมายการค้าเช่น AIS อาจจะเป็นของหลายบริษัทพร้อมๆกันที่ทำธุรกิจต่างชนิดกันออกไป แต่ชื่อโดเมน แต่ละชื่อ จะมีได้เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นด้วยเงื่อนไขของกระบวนการทำงานของระบบโดเมน (DNS) ที่เป็น Unique addressing system ซึ่งช่วยจัดระเบียบแหล่งข้อมูลมากมายมหาศาลที่กระจายอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ต ให้ต่างก็มีชื่อเฉพาะที่ใช้อ้างถึงอย่างไม่ซ้ำซ้อนกัน ทำให้ผู้จดทะเบียนสมารถมีสิทธิ์ผูกขาดในชื่อโดเมนนั้นๆดำเนินงานทางเครือ ข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์เป็นต้นหากเขาเข้าถึงแหล่งจดทะเบียนก่อน

ประกอบกับสภาพการดำเนินงานของบริษัทรับจดทะเบียนชื่อ โดเมนซึ่งตั้งอยู่บนหลักการจดก่อนได้ก่อนมาแต่เดิม (a first come first served basis)  และนโยบายเปิดเสรีให้แก่ธุรกิจรับจดทะเบียน (Registrar) ของ ICANN เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการและราคาที่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภคซึ่งทำ ให้เกิดบริษัทรับจดทะเบียนขึ้นเป็นจำนวนมากที่ดำเนินงานในแบบแสวงผลกำไรตาม แบบธุรกิจทั่วไป การจดทะเบียนชื่อโดเมนจึงไม่มีระบบการกลั่นกรองผู้จดในแง่ความเหมาะสมที่จะ เป็นเจ้าของ

ในขณะเดียวกัน สภาพการดำเนินธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตยังมีศักยภาพสูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องด้วย ลักษณะของต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำแต่สามารถเข้าถึงผู้คนได้หลายล้านคนทั่ว โลกได้ทุกเวลา สภาพการณ์เหล่านี้ทำให้กรณีพิพาทชื่อโดเมนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญใน แง่ของการพิจารณามูลความผิดอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ลักษณะที่นำไปสู่กรณีพิพาท

กรณี ชื่อโดเมนซ้ำซ้อนกับชื่อหรือที่อาจตีความได้ว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้า (หรือบริการของผู้อื่น  มีความเป็นไปได้เช่นกันว่า เจ้าของชื่อโดเมนจดทะเบียนชื่อโดเมนด้วยเจตนาบริสุทธิ์เช่น (case study)

อย่างไรก็ดี การร้องเรียนโดยทั่วไปเกี่ยวกับชื่อโดเมนเนมมาจากการที่ผู้ร้องเรียน (compliant) เห็นว่าเจ้าของชื่อโดเมนในปัจจุบันทำการจดทะเบียนชื่อโดเมนโดยมีเจตนามิชอบ (Bad faith)

ลักษณะตัวอย่างเช่น กรณี Cybersquatting ซึ่งเป็นการจดทะเบียนชื่อโดเมนโดยเจตนามิชอบที่ได้รับการรู้จักอย่างกว้าง ขวางที่สุด โดยมีลักษณะคือการจดทะเบียนชื่อโดเมนโดยการนำเอาชื่อบุคคล,ชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงของผู้อื่นไปจดทะเบียนชื่อโดเมนเพื่อ แสวงหากำไรโดยการนำมาขายคืนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่แท้จริงในชื่อดังกล่าวในราคาที่สูง

หรือ กรณี Typosquatting คือการจดชื่อทีมีการสะกดคล้ายคลึงกับชื่อเครื่องหมายการค้า (หรือบริการ) หรือชื่อที่อาจตีความได้ว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้า (หรือบริการ)ของผู้อื่น โดยมีเจตนาแอบแฝงเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจผิด หรือเข้าเว็บไซต์ผิดไปจากเว็บไซต์ที่แท้จริง

ลักษณะการพิจารณาข้อพิพาท

การเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตัดสินข้อพิพาทอาจ เกิดได้ทั้งในรูปแบบการพิจารณา ด้วยกระบวนการทางศาลหรือทางนโยบายอนุญาโตตุลาการโดยกฎหมายหรือนโยบายที่มี ลักษณะเพื่อแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับชื่อโดเมนโดยเฉพาะ จะมีข้อพิจารณาเรื่อง Bad faith (เจตนามิชอบ) เป็นหนึ่งในตัวชี้ขาดมูลความผิดที่สำคัญ โดยมีข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับการพิจารณาว่าเข้าข่าย Bad faith หรือไม่

ในลักษณะแบบการพิจารณาด้วยกระบวนการทางศาล ในส่วนของประเทศไทย อาจจะต้องฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีกฎหมายซึ่งออกมาใช้จัดการเฉพาะกับกรณีพิพาท ในชื่อโดเมนชื่อว่า Anticybersquatting Consumer Protection Act (ACPA) ซึ่งขยายความเพิ่มเติมมาจากกฎหมายเดิมที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า (The Lanham Act) โดยกฎหมายเฉพาะฉบับนี้มีขอบเขตอำนาจศาลกว้างขวางเนื่องจาก ผู้ดูแลฐานข้อมูลโดเมนในโดเมนเนมระดับสุดหมวดทั่วไป (gTLD registry) ซึ่งเป็นที่นิยมเช่น .com, .net เป็นต้น เป็นสัญชาติอเมริกัน ทำให้ศาลแห่งสหรัฐสามารถเรียกดำเนินการกับผู้จดทะเบียนโดเมน(registrants) ซึ่งเป็นชาวต่างชาติได้ (ดู case study)

อย่างไรก็ดีในกรณีชื่อโดเมนภายใต้ โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป ผู้ร้องเรียนอาจดำเนินการตามลักษณะนโยบายระงับข้อพิพาทชื่อโดเมน (UDRP) ของ ICANN ซึ่งเป็นแนวทางการระงับข้อพิพาทแบบอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นที่นิยมและประสบ ความสำเร็จเนื่องจากการดำเนินการที่รวดเร็วและค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเทียบ กับการดำเนินการแบบศาล เช่นเดียวกัน นโยบายระงับข้อพิพาทชื่อโดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ (ccTLD) ซึ่งจะมีความแตกต่างออกในนโยบายของแต่ละดอท (.) โดยผู้ร้องเรียนอาจศึกษาผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการจดทะเบียนดอทนั้นๆ (ccTLD)

วิธีแก้ไขข้อพิพาทโดเมน

:::: gTLD ::::

นโยบาย UDRP จะถูกบังคับใช้ไปยังผู้จดทะเบียนชื่อโดเมน (Registrant) ผ่านผู้รับลงทะเบียนที่ได้รับการรับรองจาก ICANN (ICANN Accredited Registrar) โดยการบังคับใช้นโยบาย UDRP จะถูกรวมอยู่ในข้อตกลงที่ผู้จดทะเบียนทำกับ ICANN Accredited registrar

ตามโครงสร้างการบริหารระบบโดเมนโลกของ ICANN นั้น ผู้รับลงทะเบียนชื่อโดเมน(Registrar) ภายใต้ gTLD ( เช่น .com, .net, .org) จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของ ICANN เพื่อเป็น ผู้รับลงทะเบียนที่ ICANN ให้การรับรอง (ICANN Accredited Registrar) ซึ่งมีข้อตกลงให้ Accredited Registrar รวมเอานโยบายระงับข้อพิพาท UDRP ไว้ในข้อตกลงการจดทะเบียนชื่อโดเมนระหว่าง ผู้รับลงทะเบียน (Accredited Registrar) กับ ผู้จดทะเบียน (Registrant)

นโยบาย UDRP จะถูกบังคับใช้แก่ผู้จดทะเบียนชื่อโดเมน (Registrant) ที่ทำการจดทะเบียนชื่อโดเมนกับผู้รับลงทะเบียนที่ได้รับการรับรองจาก ICANN (ICANN Accredited Registrar)

ในโครง สร้างการบริหารระบบโดเมนโลกของ ICANN นั้น ผู้รับลงทะเบียนชื่อโดเมน(Registrar) ภายใต้ gTLD จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของ ICANN เพื่อเป็น ผู้รับลงทะเบียนที่ ICANN ให้การรับรอง (ICANN Accredited Registrar) ซึ่งมีข้อตกลงบังคับใช้นโยบาย UDRP ของ ICANN ในนโยบายการลงทะเบียนของ Accredited registrar ที่ผู้จดทะเบียนชื่อโดเมนต้องทำการตกลงก่อนการเป็นเจ้าของโดเมนนั้นๆ

:::: ccTLD ::::

กรณีที่ชื่อโดเมนที่เป็นข้อพิพาทอยู่ภายใต้ โดเมนระดับบนสุดหมวดรหัสประเทศ (ccTLD) ที่มีอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตโลกจำนวน 252 ดอท่

กรณีที่ต้องการใช้นโยบายอนุญาโตตุลการ ซึ่งเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทนอกศาล ผู้ร้องเรียน (Compliant) ควรทำการตรวจสอบ นโยบาย การลงทะเบียนของ ccTLD นั้นๆว่ามีนโยบายระงับข้อพิพาทที่เป็นข้อบังคับแก่ผู้จดทะเบียนชื่อโดเมน (registrant) อย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปอาจกระทำได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของ ccTLD นั้นๆ

โดยทั่วไป ccTLD อาจจะมีนโยบายเกี่ยวกับข้อพิพาทในลักษณะ

กำหนดให้ผู้ลงทะเบียน (Registrant) และผู้ร้องเรียน (Compliant) ไปเลือกวิธีการระงับข้อพิพาทกันเอง ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบอนุญาโตตุลาการนอกศาล (Arbitration) หรือฟ้องร้องกันด้วยกระบวนการทางศาล (Court Jurisdiction)

มีนโยบายเฉพาะในการระงับข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในนโยบายการลงทะเบียนซึ่งเป็นข้อผูกพันให้ผู้จดทะเบียนต้องถูกดำเนินการตาม

ขั้นตอนของนโยบายระงับข้อพิพาทเฉพาะของ ccTLD นั้นกรณีที่มีผู้ร้องเรียน

กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับไทย

  • <www.seacanoe.com> และอื่นๆ บริษัทซีแคนู (ไทยแลนด์) จำกัด (ผู้ร้องเรียน) v.นายจอห์น ชาร์ล เกรย์ ที่ 1 กับพวก รวม 3 คน
    กระบวนการพิจารณา : ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (ไทย)
    (คดี หมายเลขแดงที่ ทป.163/2548, คดีหมายเลขดำที่ ทป.10/2547) ผลการพิจารณา : Transfer (โอนให้แก่ผู้ร้องเรียน)และ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 100,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้นจำนวนดังกล่าวนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 26 มกราคม 2547) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท
  • <intelcardgroup.com>
    Intel Corporation (ผู้ร้องเรียน) v. Intel Card Industries
    กระบวนการพิจารณา : ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (ไทย)
    (คดีหมายเลขแดงที่ ทป.121/2545, คดีหมายเลขดำที่ ทป.132/2544 )
    ผลการพิจารณา : Transfer (ให้จำเลยทำการเปลี่ยนชื่อโดเมน)
  • <bfgoodrichsuperchallenge.com>
    Michelin Recherche et Technique(ผู้ร้องเรียน) S.A. v. Naxza.com
    กระบวนการพิจารณา : นโยบาย UDRP (Sole Panelist : อนุญาโตตุลาการแบบเดี่ยว)
    ศูนย์ดำเนินการ : WIPO (case no. D2005-1107)
    ผลการพิจารณา : Transfer (โอนให้แก่ผู้ร้องเรียน)
  • <thairedbull.com>
    Red Bull GmbH(ผู้ร้องเรียน) v. Chai Larbthanasub
    กระบวนการพิจารณา : นโยบาย UDRP (Sole Panelist : อนุญาโตตุลาการแบบเดี่ยว)
    ศูนย์ดำเนินการ : WIPO (case no. D2003-0709)
    ผลการพิจารณา : Transfer (โอนให้แก่ผู้ร้องเรียน)
  • <buydifferin.com>และ<erythromycin-adapalene-differin-gel-cream-acne-medication.com>
    Galderma S.A.(ผู้ร้องเรียน) v. Eric Kaiser, Chairut Kompeerapun
    กระบวนการพิจารณา : นโยบาย UDRP (Sole Panelist : อนุญาโตตุลาการแบบเดี่ยว)
    ศูนย์ดำเนินการ : WIPO (case no. D2003-0495)
    ผลการพิจารณา : Transfer (โอนให้แก่ผู้ร้องเรียน)
  • <thaigem.net>
    Thaigem Global Marketing Limited (ผู้ร้องเรียน) v. Sanchai Aree
    กระบวนการพิจารณา : นโยบาย UDRP (Sole Panelist : อนุญาโตตุลาการแบบเดี่ยว)
    ศูนย์ดำเนินการ : WIPO (case no. D2002-0358)
    ผลการพิจารณา : Transfer (โอนให้แก่ผู้ร้องเรียน)
  • ชื่อโดเมนที่เกี่ยวข้องกับ Yahoo จำนวน 22 รายการ
    Yahoo!, Inc (ผู้ร้องเรียน) v. Somsak Sooksripanich and Others
    กระบวนการพิจารณา : นโยบาย UDRP (Sole Panelist : อนุญาโตตุลาการแบบเดี่ยว)
    ศูนย์ดำเนินการ : WIPO (case no. D2000-1461)
    ผลการพิจารณา : Transfer (โอนให้แก่ผู้ร้องเรียน)

กรณีศึกษาอื่น ๆ

  • กรณีศึกษาขอบเขตอำนาจศาล
    กฎหมาย Anticybersquatting Consumer Protection Act (ACPA)
    Case : Cable News Network L.P., L.L.L.P. v. CNNEWS.COM
    Case brief : LADAS & PARRY LLP
  • กรณีศึกษาของ WIPO ในเรื่องข้อพิพาทโดเมนที่เป็นชื่อบุคคล
    WIPO Overview of WIPO Panel Views on Selected UDRP Questions (Question & Discussion : 1.6)
    ผู้ร้องเรียนสามารถแสดงสิทธิ์ในชื่อส่วนตัวได้หรือไม่?
    ความเห็น : ได้ แม้ว่า UDRP จะไม่ได้ระบุถึงสิทธิเกี่ยวกับชื่อส่วนบุคคลโดยตรง แต่ในสภาพที่ชื่อนั้นๆถูกใช้ในเชิงการค้าผู้ร้องเรียนสามารถอ้างสิทธิ์ใน ชื่อที่ถือว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตาม common law ซึ่งจะทำให้ชื่อนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าตามลักษณะการพิจารณาของนโยบาย UDRP
  • กรณีตัวอย่าง : Julia Fiona Roberts v. Russell Boyd D2000-0210, Transfer
    Jeanette Winterson v. Mark Hogarth D2000-0235 among others, Transfer
    Dr. Michael Crichton v. In Stealth Mode D2002-0874, Transfer
    อย่างไรก็ตาม ชื่อที่ได้รับการปกป้องสิทธิ์ควรมีลักษณะมีชื่อเสียง มิเช่นนั้นอาจไม่เพียงพอต่อการแสดงสิทธิ์ในความเป็นชื่อเครื่องหมายการค้า ที่ไม่ได้จดทะเบียน
  • กรณีตัวอย่าง ชื่อบุคคลที่อาจมีสิทธิ์ไม่เพียงพอในความเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน :
    Israel Harold Asper v. Communication X Inc. D2001-0540 among others, Denied
    Chinmoy Kumar Ghose v. ICDSoft.com and Maria Sliwa D2003-0248, Transfer
Share :

THNIC Facebook Page

Member of

โครงการของมูลนิธิ